ค้นหาบล็อกนี้

วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

แบคทีเรียที่ฉลาดที่สุดในโลก



          นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบว่า แบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในดินสายพันธุ์ หนึ่งมีความสามารถในการสื่อสารระหว่างกันในรูปแบบที่ ฉลาดแตกต่างจากปกติ

          นักจุลชีวิทยาได้ศึกษาพฤติกรรมและความฉลาดของแบคทีเรีย ระหว่างแบคทีเรีย Paenibacillus vortex (P. vortex) กับแบคทีเรีย สายพันธุ์อื่นๆ มากกว่า 500 สายพันธุ์ ทั้งนี้ นักจุลชีวิทยาได้ทำ การตรวจสอบสิ่งที่เรียกว่า “Social IQ Score” ซึ่งเป็นการตรวจสอบ โดยการนับจำนวนจีโนม (Genome) หรือยีน (Gene) ที่มีส่วน เกี่ยวข้องกับการสื่อสารระหว่างกัน เช่น ยีนที่ทำหน้าที่ในควบคุม การส่งสัญญาณในการติดต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างแบคทีเรียด้วยกัน รวมไปถึงสิ่งแวดล้อม และมีการสังเคราะห์สารเคมีที่ใช้ใน การแข่งขันกับสิ่งมีชีวิตหรือแบคทีเรียชนิดอื่นๆ  แบคทีเรีย P. vortex และแบคทีเรียอีก 2 สายพันธุ์ ก็มีจำนวนยีนดังกล่าวมากกว่าแบคทีเรียสายพันธุ์อื่นอีก 499 สายพันธุ์รวมถึงสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดโรค (Pathogen) เช่น Escherichia coli หรือ E. coli เป็นต้น จากการวิจัยดังกล่าว ทำให้ทราบถึงศักยภาพของความฉลาดของแบคทีเรียว่ามีการติดต่อสื่อสารเช่นเดียวกันกับสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆ เช่นกัน

         ในด้านความซับซ้อนทางสังคม (Social Sophistication) หรือกลไกในในติดต่อสื่อสารของแบคทีเรีย P. vortex สามารถอธิบายได้จากการศึกษารูปแบบการสร้างโคโลนี (Colony) ของจุลินทรีย์ (สิ่งมีชีวิตจุลินทรีย์ ได้แก่ แบคทีเรีย (bacteria) รา(mold) และยีสต์ (yeast)) ที่ถูกตรึงอยู่กับที่บนอาหารเลี้ยงเชื้อ (nutrient agar) ในจานเพาะเชื้อ (Petri Dish) จะมีการเจริญเติบโตและ แบ่งตัวจากเซลล์เดียว เป็นหลายๆ เซลล์ จนมีขนาดใหญ่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เมื่อนักจุลชีวิทยาได้ศึกษาผลการทดลองจากอัตรา การเจริญเติบโตของกลุ่มโคโลนีของแบคทีเรียดังกล่าว พบว่า มีอัตราการเจริญเติบโตมากกว่าแบคทีเรียชนิดอื่นๆ หลายเท่า ซึ่งโคโลนี ของแบคทีเรีย P. vortex มีความยาวของเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 8 เซนติเมตร ซึ่งมีจำนวนของเซลล์แบคทีเรียมากกว่าจำนวน ประชากรบนโลกถึง 100 เท่า จุดสีฟ้าที่เห็นในภาพประกอบ คือ กลุ่มของแบคทีเรียที่รวมตัวกันอย่างหนาแน่น (เอกพจน์: Vortex พหุพจน์: Vortices) เพื่อใช้ในการเคลื่อนที่ไปยังบริเวณรอบๆ และเพื่อป้องกันตัวเองจากอันตรายรอบด้าน ทั้งนี้ เมื่อเซลล์แบคทีเรียมีการจำลองตัวเอง แต่ละ Vortex จะมีการขยายขนาดและเคลื่อนตัวไปเป็นกลุ่มก้อน และปล่อยเซลล์ที่แก่กว่าหรือไม่มีสามารถจำลองตัวเองไว้เป็นสายหรือเป็นกิ่ง ก้านสาขา เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างโคโลนีด้วยกัน 

          ดังนั้นการเชื่อมต่อดังกล่าว จึงเป็นการติดต่อสื่อสารระหว่างเซลล์สิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ทำให้สามารถรับรู้ถึงสภาพแวดล้อม การแก้ไขปัญหา และการตัดสินใจ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวนั้นมีความฉลาดกว่าที่ทุกคนคิด

ที่มาและภาพประกอบ: Scientific American, June 2011

วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การสืบพันธุ์ของจุลินทรีย์

          การสืบพันธุ์ หรือ การขยายพันธุ์ (อังกฤษReproduction) หมายถึง การเพิ่มจำนวนลูกหลานที่มีลักษณะเหมือนเดิมของสิ่งมีชีวิต โดยที่สิ่งมีชีวิตรุ่นใหม่ที่เกิดขึ้นนี้จะทดแทนสิ่งมีชีวิตรุ่นเก่าที่ล้มหายตายจากไป ทำให้สิ่งมีชีวิตเหลือรอดอยู่ในโลกได้โดยไม่สูญพันธุ์ไป
การสืบพันธุ์มี  2  วิธี



การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ (Asexual reproduction) เป็นการเพิ่มจำนวนลูกหลานที่ไม่ต้องอาศัยเพศเข้ามาเกี่ยวข้อง และไม่มีการผสมกันของเซลสืบพันธุ์ แบ่งออกเป็น
1. การแตกหน่อ (Budding) เป็นการสืบพันธุ์ที่หน่วยสิ่งมีชีวิตใหม่เจริญออกมาภายนอกของตัวเดิมเรียกว่า หน่อ (Bud) หน่อที่เกิดขึ้นนี้จะเจริญจนกระทั่งได้เป็นสิ่งมีชีวิตใหม่ ซึ่งมีลักษณะเหมือนเดิม แต่มีขนาดเล็กว่า ซึ่งต่อมาจะหลุดออกจากตัวเดิมและเติบโตต่อไป หรืออาจจะติดอยู่กับตัวเดิมก็ได้ สัตว์ที่มีการสืบพันธุ์ลักษณะนี้ได้แก่ ไฮดรา ฟองน้ำ ปะการัง




                                                รูปแสดงการแตกหน่อของไฮดรา

2. การงอกใหม่ (Regeneration) เป็นการสืบพันธุ์ที่มีการสร้างส่วนของร่างกายที่หลุดออกหรือสูญเสียไปให้เป็นสิ่งมีชีวิตตัวใหม่ ทำให้มีจำนวนสิ่งมีชีวิตเพิ่มมากขึ้น สัตว์ที่มีการสืบพันธุ์ลักษณะนี้ ได้แก่ พลานาเรีย ดาวทะเล ซีแอนนีโมนี ไส้เดือนดิน ปลิงน้ำจืด



                                     รูปแสดงการงอกใหม่ของพลานาเรียและดาวทะเล

3. การขาดออกเป็นท่อน (Fragmentation) เป็นการสืบพันธุ์โดยการขาดออกเป็นท่อน ๆ จากตัวเดิมแล้วแต่ละท่อนจะเจริญเติบโตเป็นตัวใหม่ได้ พบในพวกหนอนตัวแบน


การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ (Sexual reproduction) เป็นการสืบพันธุ์ที่ต้องอาศัยเพศโดยที่มีการสร้างเซลสืบพันธุ์เพศผู้และเซลสืบพันธุ์เพศเมียแล้วผสมกันเกิดเป็นสิ่งมีชีวิตหน่วยใหม่ซึ่งมีลักษณะเหมือนพ่อและแม่
 การสืบพันธุ์ของสัตว์ที่มี 2 เพศในตัวเดียวกัน (Monoecious) โดยทั่วไปไม่สามารถผสมกันภายในตัว ต้องผสมข้ามตัว เนื่องจากไข่และอสุจิจะเจริญไม่พร้อมกัน เช่น ไฮดรา พลานาเรีย ไส้เดือนดิน




        รูปแสดงการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของไฮดราตัวอ่อนหลุดจากรังไข่ แล้วเจริญเติบโตต่อไป



วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2555

จุลินทรีย์หน่อกล้วย

 กล้วยปลูกที่ไหน ดินบริเวณกอกล้วย ณ ที่นั้นจะดี เบื้องหลังความร่วนซุยอุ้มน้ำของดินดังกล่าว เกิดจากกิจกรรมของจุลินทรีย์ดินรอบๆรากกล้วย ซึ่งหากขยายเชื้อให้มากแล้ว ย่อมนำไปใช้ปรับปรุงดินที่อื่นๆ ให้ดีขึ้นได้ 
        นอกจากนั้น หน่อกล้วย มีน้ำยางฝาด หรือสารแทนนินมาก เมื่อหมักแล้ว น้ำที่หมักได้ ยังสามารถนำมาใช้ ในการควบคุมโรคพืชบางอย่างได้  ทั้งยังสามารถนำไปใช้ปรับปรุงสภาพน้ำที่เน่าเสียให้ฟื้นสภาพกลับดีขึ้นได้อีกด้วย

วิธีทำ
        ขุดหน่อกล้วยต้นที่สมบูรณ์ไม่เป็นโรค ขนาดหน่อสูงจากโคนถึงปลายใบไม่เกิน 1 เมตร เอาเหง้าพร้อมราก(ใหญ่ๆ) ให้มีดินติดรากมาด้วย สับ หรือ บดย่อยทุกส่วนทั้งหมด ทั้งใบ หยวก เหง้า และ ราก ให้ละเอียดโดยไม่ต้องล้างน้ำ แล้วนำมาคลุกเคล้ากับการน้ำตาล ในอัตราส่วน หน่อกล้วย 3 ส่วน ใช้กากน้ำตาล 1 ส่วน หมักในภาชนะพลาสติคมีฝาปิดในที่ร่มอากาศถ่ายเทได้สะดวก 7 วัน แล้วคั้นเอาแต่น้ำเก็บไว้ เรียกน้ำหมักนี้ว่า จุลินทรีย์หน่อกล้วย
วิธีใช้
1.ปรับปรุงโครงสร้างของดิน และ กำจัดเชื้อโรคในดิน       
       ผสมจุลิทรีย์หน่อกล้วย 20-40 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ราดรดลงดินร่วมไปพร้อมๆกับการให้น้ำ ซึ่งการใช้ในแต่ละครั้ง รวมทั้งหมดแล้ว อย่าให้เกิน 3 ลิตร ต่อ ไร่  
2. ป้องกันกำจัดโรคพืช
       ผสมจุลิทรีย์หน่อกล้วย 20-40 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดต้นพืชให้เปียกชุ่มโชก ทั้งบนใบ และใต้ใบ เพื่อล้างน้ำฝน ภายหลังจากที่ฝนหยุดตกแล้วนานเกิน 30 นาที ฉีดพ่นล้างหมอกก่อนแดดออก ฉีดพ่นป้องกันโรคที่มากับน้ำค้างช่วงตอนเย็น หรือฉีดพ่นในอัตรา 40 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร เมื่อพบการระบาดของโรคพืช ทั้งเว้นการให้น้ำ 48 ชั่วโมง เพื่อลดความชื้น
3. ปรับปรุงคุณภาพน้ำในร่องสวน สระเก็บกักน้ำ และบ่อเลี้ยวสัตว์น้ำ
        ใส่จุลินทรีย์หน่อกล้วย 1 ลิตร ต่อน้ำ 10,000 ลิตร
4.ล้างทำความสะอาดคอกสัตว์
         ฉีดพ่นด้วยน้ำจุลินทรีย์ 1 ลิตร ต่อน้ำ 100 ลิตร
5. เร่งการย่อยสลายเศษซากอินทรีย์วัตถุ หรือดับกลิ่นขยะของเน่าเสีย
         ฉีดพ่นด้วย จุลินทรีย์หน่อกล้วย 1 ลิตรต่อน้ำ 100 ลิตร กรณีหมักฟางในนาข้าว ใช้จุลินทรีย์หน่อกล้วย 10 ลิตร ต่อ พื้นนา 1 ไร่

วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2555

เห็ดรา - จุลินทรีย์กินได้

          เห็ดรา (อังกฤษFungus,Fungi) คือสิ่งมีชีวิตกลุ่มหนึ่ง เดิมเคยจัดอยู่อาณาจักรเดียวกับพืช แต่ปัจจุบันจัดอยู่ใน อาณาจักรเห็ดราหรือฟังไจ (Kingdom Fungi) เป็นเซลล์ยูแคริโอต (eukaryote) พบได้ทั้งที่เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว เส้นใย และ ดอกเห็ด ไม่มีคลอโรฟิลล์ ได้รับสารอาหารจากการย่อยสลายสารอินทรีย์ โดยปล่อยเอนไซม์ออกมาย่อยสลายสารอินทรีย์ที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่และซับซ้อนจนเป็นโมเลกุลเล็กและดูดซึมเข้าเซลล์ (saprophyte)ได้แก่ สิ่งมีชีวิตประเภทเห็ด รา และยีสต์

แบ่งตามไฟลัมได้ 4 ไฟลัมคือ

  • Chytridiomycota หรือไคทริด เป็นพวกที่มี แฟลกเจลล่า เป็นราที่มีการสร้างสปอร์ที่มีแฟลกเจลเลต มักอยู่ร่วมกัน กับ สาหร่าย ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในน้ำ จัดเป็นราที่โบราณที่สุด พบตามพืชน้ำที่ตายแล้ว หรือตามเศษหินเศษทรายในน้ำ เป็นปรสิตในพืชน้ำและสัตว์ เช่น Batrachochytrium เป็นปรสิตในกบ


  • Zygomycota หรือไซโกต ฟังไจ เป็นพวกที่อาศัยอยู่บนดิน เช่น ราดำ บางชนิดก่อให้เกิดโรคราสนิม บางชนิดใช้ผลิตกรดฟูมาลิก Rhizopus nigricans มีการสร้างไซโกสปอร์จากเซลล์ใหม่ที่เกิดจากการปฏิสนธิ ตัวอย่างเช่น ราขนมปัง เมื่อสายของราที่ต่างกันมาพบกัน จะเกิดการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ มีการรวมของนิวเคลียสได้เป็น ไซโกสปอร์ (2n) ส่วนที่เป็นไซโกสปอร์นี้จะเป็นระยะพักของรามีผนังหนาเป็นสีดำ เมื่อสภาวะเหมาะสมไซโกสปอร์จะงอก และสร้างส่วนที่เรียกว่าสปอแรงเกีย (sporangia) ซึ่งจะเกิดการแบ่งตัวแบบไมโอซิส สร้างสปอร์ที่เป็น n เมื่อสปอร์นี้งอกจะได้เส้นใยที่มีนิวเคลียสเป็นแฮพลอยด์ต่อไป


  • Ascomycota หรือ แซค ฟังไจ เป็นฟังไจที่พบมากที่สุด โดยส่วนใหญ่พวกหลายเซลล์ในกลุ่มนี้ เป็นเห็ดที่มีลักษณะเป็นรูปถ้วย มีการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ในถุง แอสคัส ภายในมี แอสโคสปอร์ เช่น ยีสต์(yeast)


  • Basidiomycota หรือคลับ ฟังไจ สร้างเซลล์สืบพันธุ์ บนอวัยวะที่คล้ายกระบอง(Basidium) ภายในมี Basidiospore เป็นราที่ผลิตบาสิดิโอสปอร์(basidiospore) ซึ่งจะงอกเป็นสายที่เป็นแฮพลอยด์ เรียก primary mycelium จากนั้นผนังของไมซีเลียมจะมารวมกันได้เป็นเซลล์ที่มีนิวเคลียสสองอัน แต่ละอันเป็น n เรียกว่าไดคาริโอต (dikaryote) เส้นใยที่เป็นไดคาริโอตนี้จะรวมกันเป็นโครงสร้างที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์หรือ tertiary mycelium ซึ่งเป็นส่วนที่เรียกว่าดอกเห็ด เมื่อจะมีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ นิวเคลียสทั้งสองอันรวมเข้าเป็น 2n จากนั้นจึงแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสเพื่อสร้างสปอร์อีก ส่วนใหญ่เป็นเห็ดทั้งที่กินได้และเป็นพิษสามารถกินได้ เช่น เห็ดหอม เห็ดนางฟ้า เป็นต้น



โดย  วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555

จุลินทรีย์ประจำถิ่น

         ร่างกายมนุษย์เรานั้นปกคลุมด้วยจุลินทรีย์ เซลล์ในร่างกายเราว่ามีจำนวนมากแล้ว แต่เชื่อหรือไม่ว่า จุลินทรีย์ที่มีอยู่ใน ตัวเรานี้มีมากกว่าจำนวนเซลล์เป็นสิบเท่า ร่างกายคนเราคือโลกใบใหญ่ของจุลินทรีย์โดยแท้ โลกใบใหญ่ในตัวเรานี้มีทั้งประชากรแบคทีเรีย รา ยีสต์ และโปรโตซัว สิ่งมีชีวิตที่เล็กจนมองด้วยตาเปล่าไม่เห็นเหล่านี้ครอบครองพื้นที่เกือบทุก อณูในร่างกายทั้งภายนอกและภายใน...

จุลินทรีย์ที่ผิวหนัง

          สำหรับแบคทีเรียตัวหลักที่ครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของผิวหนังก็คือ สแตฟิโลคอกคัส อีพิเดอร์มิดิส (Staphy-  lococcus epidermidis) เป็นแบคทีเรียแกรมบวกที่ปรับตัวได้เก่ง อาศัยอยู่ในร่างกายได้หลายที่ ถ้า S. epidermidis ระบาดในโรงพยาบาลก็อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต S. epidermidis จะก่อตัวเป็นรูปแบบไบโอฟิล์ม (biofilm) ติดกับพื้นผิวของเครื่องมือแพทย์ โดยไบโอฟิล์มนี้มีฤทธิ์ต้านทานยาปฏิชีวนะ อันที่จริงแล้ว S. epidermidis นั้นไม่ใช่จุลินทรีย์ก่อโรค แต่ในบางกรณีมันอาจกลายเป็น “เชื้อฉวยโอกาส” (opportunistic organism) ที่ทำให้เกิดโรคได้

จุลินทรีย์ที่ดวงตา
           เมื่อนำเยื่อตามาเพาะเชื้อก็พบกับแบคทีเรียหลายชนิดในปริมาณไม่มากนัก ได้แก่ S. epidermidis, P. acnes, นอกจากนี้ยังมีโอกาสพบ สแตฟิโลคอกคัสออเรียส (Staphy- lococcus aureus), เฮโมฟิลัส (Haemo- philus sp)., และ ไนส์ซีเรีย (Neisseria sp.) เยื่อตานั้นคงความชุ่มชื้นและสุขภาพดีอยู่เสมอโดยมีของเหลวจากต่อมน้ำตา หลั่งออกมาหล่อลื่นและฆ่าเชื้อ จึงไม่ค่อยพบจุลินทรีย์ที่บริเวณเยื่อตามากนัก

จุลินทรีย์ที่จมูก
        จมูกคนเราเป็นแหล่งอาศัยของแบคทีเรีย S. aureus (อีกบริเวณที่มี S. aureus อยู่มากก็คือ  บริเวณรอบทวารหนักและอวัยวะสืบพันธุ์) ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่ขึ้นชื่อลือชาในโรงพยาบาลด้านการติดเชื้อจากแผลผ่าตัด และการติดเชื้อจากระบบโรงพยาบาล นอกจากนี้ยังมี S. aureusสายพันธุ์พิเศษที่ชื่อ MRSA (Methicillin Resistance Staphylococcus aureus) ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะเมทิซิลลิน และแวนโคมัยซิน ปัจจุบันการพบเชื้อ MRSA เป็นปัญหาสำคัญในโรงพยาบาลที่เป็นอันตรายถึงชีวิต โดยแบคทีเรียจะติดต่อจากคนไข้คนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่งแต่ก็มีบางคนที่แม้จะ ได้รับเชื้อก็จะไม่แสดงอาการ   ส่วนแบคทีเรียตัวเด่นอีกสองชนิดที่อาศัยเกาะติดกับเนื้อเยื่อบริเวณจมูกและหลังโพรงจมูกคือ S. epidermidis และ สแตฟิโลคอกคัส นิวโมนิอี (Staphylococcus pneumoniae)

จุลินทรีย์ที่ปาก

         ในปากของเราเป็นแหล่งมีแบคทีเรียประมาณ 500-600 ชนิด ยกตัวอย่างเช่น กลุ่มสเตรปโตคอกคัส (streptococci), กลุ่มแลกโตบาซิลลัส (lacto- bacilli), กลุ่มสแตฟิโลคอกคัส (Staphylocci), กลุ่มโครินีแบคทีเรีย (corynebacteria) และแบคทีเรียชนิดไม่ใช้ออกซิเจนชนิดของจุลินทรีย์ในช่องปากของเราเปลี่ยน แปลงไปตามวัย ในช่วงแรกเกิด ในปากมีเพียงริมฝีปาก กระพุ้งแก้ม ลิ้น เพดาน ซึ่งมีต่อมน้ำลายหลั่งน้ำลายออกมาให้ความชุ่มชื้น จุลินทรีย์ตัวเด่นในช่วงวัยแรกของชีวิตคือ สเตรปโตคอกคัส ซาลิวาเรียส (Streptococcus salivarius) แต่หลังจากที่ฟันเริ่มขึ้นในช่วงปีแรก ก็จะมี สเตรปโตคอกคัส มิวแทนส์ (Strep- tococcus mutans) และ สเตรปโตคอกคัส แซนกุยส์ (Strep- tococcus sanguis) เพิ่มเข้ามา 

จุลินทรีย์ที่จุดซ่อนเร้น
           หลังจากคลอดออกมาจากท้องแม่ไม่นาน บริเวณช่องคลอดก็จะมีจุลินทรีย์ประเภท โครินีแบคทีเรีย, สแตฟิโลคอกคัส, สเตรปโตคอกคัส, อี. โคไล และแบคทีเรียกรดแลกติก มาอาศัย ในช่วงวัยเจริญพันธุ์จนถึงวัยหมดประจำเดือน เยื่อบุผิวช่องคลอดจะมีไกลโคเจนอันเนื่องมาจากการที่ร่างกายมีฮอร์โมน เอสโตรเจน แบคทีเรียกรดแลกติกที่ชื่อ แลกโตบาซิลลัส แอซิโดฟิลัส (Lactobacillus acidophilus) ก็จะย่อยสลายไกลโคเจนให้กลายเป็นกรดแลกติก และสารอื่นๆ ซึ่งมีผลในการยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ชนิดอื่นๆ ยกเว้นพวกเดียวกันเอง ทำให้ค่าความเป็นกรดด่างของเยื่อบุช่องคลอดลดต่ำลงจน   ยีสต์ ซึ่งเป็นคู่แข่งกันเจริญไม่ได้ รวมถึงยีสต์ก่อโรคอย่างเช่น แคนดิดา อัลบิแคนส์ (Candida albicans) ด้วย นี่เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดว่า แบคทีเรียประจำถิ่นผู้อาศัยนั้นทำประโยชน์ให้แก่เจ้าบ้าน


โดย  นิตยสาร update โดย นิสากร ปานประสงค์  http://update.se-ed.com/

วันจันทร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2555

จุลินทรีย์ช่วยย่อยสลายสารอินทรีย์และเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดิน


        จุลินทรีย์ในดินพวกแบคทีเรียและเห็ดราชนิดต่างๆ ช่วยย่อยสลายสารอินทรีย์จากซากสิ่งมีชีวิตให้กลายเป็นสารอนินทรีย์ โดยจุลินทรีย์ได้สารอาหารจากซากเหล่านั้น และนำไปใช้ประโยชน์ ขณะเดียวกันสารอินทรีย์ที่สลายเป็นสารอนินทรีย์ ก็เป็นสารอาหารของพืชที่ดูดซึมไปสร้างเนื้อเยื่อพืชได้ ดังนั้น ถ้าขาดจุลินทรีย์ในดิน จะทำให้ดินขาดสารอาหาร และพืชไม่สามารถเจริญเติบโตได้ จุลินทรีย์ในดิน จึงเกี่ยวข้องกับวัฏจักรของสารต่างๆ ในธรรมชาติ เช่น วัฏจักรไนโตรเจน วัฏจักรคาร์บอน วัฏจักรซัลเฟอร์ เป็นต้น
        ในอากาศมีก๊าซไนโตรเจนอิสระอยู่ถึง 78% แต่พืชไม่สามารถนำไปสร้างโปรตีนในเซลล์ได้ พืชได้รับไนโตรเจนในรูปเกลือไนเตรตที่รากดูดขึ้นมาจากดิน แต่จุลินทรีย์บางชนิดมีความสามารถตรึงก๊าซไนโตรเจนจากอากาศแล้วเปลี่ยนให้เป็นสารประกอบไนเตรต จุลินทรีย์เหล่านี้บางชนิดอยู่ร่วมกับรากพืช เช่น แบคทีเรียชื่อ ไรโซเบียม (Rhizobium)อยู่ร่วมกับรากพืชตระกูลถั่วแบบพึ่งพาอาศัยแบคทีเรียบางชนิดตรึงก๊าซไนโตรเจนแบบอิสระได้ เช่น Rhodospirillum rubrum, Rhodopseudomonas vanniellii หรือไซยาโนแบคทีเรียที่อยู่ในน้ำ เช่น Anabaena spp., Nostoc spp.,Oscillatoria spp. เมื่อตรึงก๊าซไนโตรเจนแล้วจะเปลี่ยนให้เป็นแอมโมเนีย และพืชนำไปใช้เปลี่ยนเป็นโปรตีนในพืช เมื่อพืชถูกสัตว์กินจะเปลี่ยนเป็นโปรตีนในสัตว์ เมื่อพืชและสัตว์ตายลงรวมทั้งสิ่งขับถ่ายจากสัตว์จะทับถมลงดิน โปรตีนและกรดนิวคลีอิกจะถูกย่อยโดยแบคทีเรียบางชนิดในดินได้กรดอะมิโน ซึ่งถูกย่อยต่อได้แอมโมเนีย แอมโมเนียอาจระเหยออกจากดินหรือละลายน้ำกลายเป็นเกลือแอมโมเนียม (NH4+) หรือถูกพืชและจุลินทรีย์นำไปใช้และอาจเปลี่ยนต่อไปเป็นไนไตรต์ (NO2-) และไนเตรต (NO3-) ไนเตรตที่ผลิตโดยจุลินทรีย์จึงเป็นปุ๋ยให้แก่พืชได้

โดย  http://www2.swu.ac.th/royal/book2/b2c11t2.html

จุลินทรีย์ผลิตเชื้อเพลิง

          การเกิดเชื้อเพลิงธรรมชาติในรูปถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติต้องใช้เวลานับล้านๆ ปี โดยเกิดจากการทับถมของซากพืชซากสัตว์ที่ตายรวมกันเป็นตะกอน โดยอาศัยอุณหภูมิสูงและแรงกดดัน รวมทั้งการกระทำของจุลินทรีย์ เชื้อเพลิงซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติชนิดสิ้นเปลืองกำลังลดปริมาณลงอย่างรวดเร็ว ในขณะที่โลกมีความต้องการพลังงานจากเชื้อเพลิงมากขึ้น จึงอาจเกิดปัญหาการขาดแคลนพลังงาน ทั่วโลกจึงหันมาสนใจหาแหล่งพลังงานทดแทน ซึ่งมีหลายแบบ แบบหนึ่ง คือ การผลิตเชื้อเพลิงโดยอาศัยจุลินทรีย์ เชื้อเพลิงชนิดนี้ ได้แก่ แอลกอฮอล์ และมีเทน
         จุลินทรีย์จำพวกยีสต์ สามารถเกิดกระบวนการหมักสารคาร์โบโฮเดรตให้ได้แอลกอฮอล์ เพื่อใช้ทำเครื่องดื่ม ดังได้กล่าวแล้ว นอกจากนี้แอลกอฮอล์ยังใช้เป็นตัวทำละลายที่ดีด้วยและยังสามารถ ใช้เป็นเชื้อเพลิงได้ โดยการผสมแอลกอฮอล์ประมาณ 10-15% กับน้ำมันที่เรียกว่า แก๊สโซฮอล์ (Gasohol)
         พลังงานอีกชนิดหนึ่งได้จากก๊าซชีวภาพ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นก๊าซมีเทน (CH4) ที่ได้จากการหมักมูลสัตว์และของเสียจากสัตว์ โดยรวบรวมของเสียเหล่านี้ใส่ในถังหมักที่มีเชื้อ จุลินทรีย์อยู่ ทิ้งไว้ให้เกิดปฏิกิริยาในที่ไม่มีอากาศ จุลินทรีย์จะใช้สารอินทรีย์ในของเสียไปและเกิดก๊าซมีเทนขึ้น ก๊าซนี้นำ ไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในการปรุงอาหารและกระบวนการอื่นๆ ที่ต้องการใช้ความร้อน ของเหลือจากถังหมัก เมื่อสะสมมากๆ ยังนำไปใช้เป็นปุ๋ยได้ ปัจจุบันครอบครัวตามชนบทมีการทำเชื้อเพลิงแบบนี้ใช้เอง
โดย http://www2.swu.ac.th/royal/book2/b2c11t2.html