ค้นหาบล็อกนี้

วันเสาร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2554

เชื้ออีโคไล

          อีโคไล (E. coli) หรือมีชื่อเต็มๆ ว่า  Escherichia coli (เอสเชอริเชีย โคไล) เป็นแบคทีเรียในกลุ่มโคลิฟอร์ม เป็นตัวชี้การปนเปื้อนของอุจจาระในน้ำ มีอยู่ตามธรรมชาติในลำไส้ใหญ่ของสัตว์และมนุษย์




                             อีโคไล ภาพกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน กำลังขยาย 10,000 เท่า

         แบคทีเรียชนิดนี้ทำให้เกิดอาการท้องเสียบ่อยที่สุด ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ทำให้ถ่ายอุจจาระเหลว หรือเป็นน้ำ แต่อาการมักไม่รุนแรง เพราะทั้งเด็ก และผู้ใหญ่มักมีภูมิต้านทานอยู่บ้างแล้ว เนื่องจาก ได้รับเชื้อนี้เข้าไปทีละน้อยอยู่เรื่อยๆ เชื้อนี้มักปนเปื้อนมากับอาหาร น้ำ หรือ มือของผู้ประกอบอาหาร ปกติเชื้อเหล่านี้อาจพบในอุจจาระได้อยู่แล้วแม้จะไม่มีอาการอะไร
เชื้ออีโคไล แพร่สู่คนได้อย่างไร
          เชื่อแบคทีเรียอีโคไลจะแพร่สู่คนได้จากการรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ปนเปื้อนอยู่ ซึ่งเชื้อชนิดนี้มักจะปนเปื้อนอยู่ในอาหารที่ได้รับการปรุงไม่ถูกสุขลักษณะ
อาการของผู้ได้รับเชื้ออีโคไล
         จะพบอาการแต่เริ่มท้องร่วงเล็กน้อย จนกระทั่งเกิดภาวะลำไส้อักเสบและมีอาการเลือดออกไม่หยุด เกิดอาการปวดท้องอย่างรุนแรงและพบเลือดปนกับอุจจาระ
ระยะฟักตัวของเชื้ออีโคไล
         ระยะฟักตัวของเชื้ออีโคไลอยู่ที่ประมาณ 3-8 วัน และจะปรากฏอาการในช่วง 3-4 วันหลังการได้รับเชื้อ แม้ว่าผู้ได้รับเชื้อจะสามารถนำเชื้อชนิดนี้ออกจากร่างกายได้ภายใน 1 สัปดาห์ แต่เชื้อส่วนที่หลงเหลือเพียงเล็กน้อยยังสามารถทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ได้ เช่นเกิดภาวะไตเสื่อม ซึ่งเกิดจากเซลล์เม็ดเลือดแดงถูกทำลาย
ผู้เสี่ยงได้รับเชื้ออีโคไล
         เด็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ จะเป็นผู้มีความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้ออีโคไลมากที่สุด เนื่องจากร่างกายของคนกลุ่มนี้จะมีความสามารถในการต้านทานเชื้อได้น้อยกว่าคนทั่วไป
การป้องกันและรักษาเมื่อได้รับเชื้ออีโคไล
         ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาอาการที่เกิดจากการได้รับเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้โดยตรง ผู้ป่วยสามารถรับประทานยาแก้ปวดท้องได้ในเบื้องต้น แต่ไม่ควรรับประทานยาแก้ปวดกลุ่มสเตอรอยด์ เช่นยาแอสไพริน เพราะยากลุ่มนี้จะมีผลทำลายไตของผู้รับประทาน นอกจากนี้เพื่อเป็นการป้องกันการได้รับเชื้อ ควรหลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ เครื่องดื่มบรรจุกระป๋องและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

ข้อมูลจาก Mthai News

พบอีโคไลระบาดจากคนสู่คนครั้งแรกในเยอรมนี

          สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อแบคทีเรียอีโคไลในเยอรมนี ล่าสุดเมื่อวานนี้ กระทรวงสาธารณสุขเยอรมนียืนยันว่า พบการติดเชื้ออีโคไลจากคนสู่คนเป็นครั้งแรกในประเทศ





          รัฐมนตรีสาธารณสุขเยอรมนี แถลงยืนยันเรื่องดังกล่าว เมื่อวานนี้ ในระหว่างเดินทางไปยังสถาบันอนามัยแห่งมหาวิทยาลัยในมุนสเตอร์ โดยกล่าวว่า ผู้ป่วยที่แพร่เชื้ออีโคไลจากคนสู่คนรายแรกในเยอรมันเป็นผู้หญิง ซึ่งทำงานในห้องครัวร้านอาหารแห่งหนึ่งใกล้เมืองแฟรงค์เฟิร์ต โดยเธอติดเชื้อจากการรับประทานถั่วงอก และได้แพร่เชื้ออีโคไลไปยังคนอื่นๆ อีก 20 คน
           ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดต่อที่ห้องแล็บในเมืองฮัมบูร์ก อธิบายถึงการแพร่เชื้อจากคนสู่คนรายนี้ว่า ผู้ป่วยได้แพร่เชื้อจากการทำอาหารให้คนอื่นรับประทาน ซึ่งจากที่ทราบกันก็คือ แบคทีเรียอีโคไลในปริมาณเพียงเล็กน้อยก็เพียงพอที่จะแพร่ระบาดแล้ว และอาหารที่ผู้ป่วยปรุงหรือจัดเตรียมก็สามารถปนเปื้อนเชื้ออีโคไล
          ส่วนกรณีที่พบเชื้ออีโคไล สายพันธุ์ใหม่และอันตรายนี้ที่น้ำในลำธารเมืองแฟรงค์เฟิร์ต เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมานั้น เจ้าหน้าที่สาธารณสุขเยอรมนี บอกว่า จะไม่เป็นอันตรายต่อประชาชน และจะไม่ส่งผลต่อระบบน้ำดื่ม ตราบใดที่ประชาชนปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น คือ อย่าเพิ่งลงไปว่ายน้ำในลำธาร หรือแม่น้ำบริเวณดังกล่าวและอย่าใช้น้ำจากลำธารมารดผักที่ปลูก
          ด้านสถาบันโรคติดต่อเยอรมนี ออกแถลงการณ์วานนี้ เชื้อแบคทีเรียอีโคไล โอ 104 นี้ทำให้มีผู้เสียชีวิตในเยอรมนีไป 38 คน ในสวีเดน 1 คน ติดเชื้อ 3,408 คน โดยองค์การอนามัยโลกระบุว่า ผู้ป่วยกว่า 100 คนอยู่ใน 13 ประเทศทั้งยุโรป สหรัฐฯและแคนาดา อย่างไรก็ตามสถานการณ์ก็ดีขึ้นเรื่อยๆเนื่องจากผู้ติดเชื้อน้อยลง และจากการตรวจสอบยังไม่พบว่า มีการแพร่ระบาดครั้งใหม่




ข้อมูลจาก ครอบครัวข่าว 3  ข่าวต่างประเทศ วันเสาร์ที่ 17 ธันวาคม 2554

วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

จุลินทรีย์ที่ก่อโรค

เชื้อโรคสำคัญที่มักพบว่าก่อให้เกิดการป่วย
      ๑. ซัลโมเนลลา (Salmonella) อาหารที่มีผู้บริโภคแล้วเกิดอาการพิษ ได้แก่ เนื้อสัตว์ สัตว์ปีก ไข่ นมดิบ และน้ำ
      ๒. สตาฟิโลค็อกคัส ออริอุส (Staphy-lococcus aureus) อาหารที่มีผู้บริโภคแล้วเกิดอาการพิษ ได้แก่ เนื้อวัว ไก่ ปลา อาหารทะเลปรุงสุก ขนมจีน นมและผลิตภัณฑ์นมจากวัวและแพะที่เป็นโรคเต้านมอักเสบ ขนมและอาหารที่ใช้มือหยิบจับ
      ๓. คลอสตริเดียม เพอร์ฟริงเจนส์ (Clostridium perfringens) อาหารที่มีผู้บริโภคแล้วเกิดอาการพิษ ได้แก่ เนื้อวัว ไก่ปรุงสุก อาหารแห้งเช่น กะปิ น้ำพริกต่างๆ
     ๔. คลอสตริเดียม โบทูลินุม (Clos-tridium botulinum) อาหารที่มีผู้บริโภคแล้วเกิดอาการพิษ ได้แก่ อาหารที่ผลิตแล้วเก็บในภาชนะอับอากาศ เช่น อาหารกระป๋องบางชนิด
     ๕. วิบริโอ พาราฮีโมไลติคัส (Vibrio parahaemolyticus) อาหารที่มีผู้บริโภคแล้วเกิดอาการพิษ ได้แก่ อาหารทะเลดิบ
     ๖. วิบริโอ คอเลอรี (Vibrio cholerae) อาหารที่มีผู้บริโภคแล้วเกิดอาการพิษ ได้แก่ อาหารทั่วไป
     ๗. บะซิลลัส ซีลีอุส (Bacillus cereus) อาหารที่มีผู้บริโภคแล้วเกิดอาการพิษ ได้แก่ อาหารประเภทธัญพืช เช่น เต้าเจี้ยว ผลิตภัณฑ์แป้ง เนื้อสัตว์ ซุป ผักสด ขนมหวาน ซอส ข้าวสุก และขนมจีน
     ๘. ชิเกลลา (Shigella) อาหารที่มีผู้บริโภคแล้วเกิดอาการพิษ ได้แก่ นมและน้ำ
     ๙. เอนเทอโรพาโทเจนิก เอสเชอริเชียโคไล (Enteropathogenic Escherichia Coli) อาหารที่มีผู้บริโภคแล้วเกิดอาการพิษ ได้แก่ เนยแข็งหมู ไก่ และอาหารที่ใช้มือหยิบจับ

กระบวนการทำโยเกิร์ต

วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ประโยชน์ของจุลินทรีย์

จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์แบ่งได้เป็นหลายประเภทดังนี้
        1.  ด้านการเกษตร 
ส่วนใหญ่นิยมนำมาทำเป็นเชื้อ EM (ปุ๋ยชีวภาพ) ได้แก่ กลุ่มจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง แลกโตบาซิลัส (Lactobacillus), เพนนิซีเลียม (penicillum), ไตรโคเดอมา (Trichoderma), ฟูซาเรียม (Fusarium), สเตรปโตไมซิส (Streptomysis) อโซโตแบคเตอ (Azotobacter) ไรโซเบียม(Rhizobium) ยีสต์ (yeast) รา ( mold )  เป็นต้น
     
       
2.  ด้านสิ่งแวดล้อม ในปัจจุบันนิยมนำจุลินทรีย์มาช่วยรักษาหรือบำบัดสิ่งแวดล้อมให้สะอาดขึ้น โดยเฉพาะในโรงงานอุตสาหกรรม ที่มีการปนเปื้อนของสารพิษเหล่านนี้อยู่ ทั้งที่ปนเปื้อนในแหล่งน้ำ และในดิน เช่น การนำจุลินทรีย์มาบำบัดสารมลพิษที่ย่อยสลายยากทั้งที่เป็นสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ โดยจุลินทรีย์เหล่านี้จะย่อยสลายสารมลพิษเหล่านี้ให้มีความเป็นพิษน้อยลง หรือย่อยจนสารพิษนั้นหมดไปทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเป็นพิษของสารนั้นและชนิดของจุลินทรีย์ที่นำมาบำบัด
          3.  ด้าน
 แพทย์ จุลินทรีย์ถูกนำมาใช้เป็นตัวกลางในการผลิตสารที่จำเป็นบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับทางการแพทย์และการรักษาโรค  ซึ่งตามปรกติแล้วสารเหล่านี้จะสกัดมาจากคนหรือสัตว์ซึ่งให้ปริมาณน้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการ  ทำให้มีราคาแพง การผลิตโดยจุลินทรีย์จะอาศัยเทคนิคทางพันธุวิศวกรรม  ทำให้เราสามารถทำการตัดต่อยีน ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสารชนิดนั้น ๆ ตัวอย่างจุลินทรีย์ที่นำมาใช้ในทางการแพทย์ เช่น

        1. ยีสต์ Saccharomyces cerevisiae และแบคทีเรีย อีโคไล (E.coli ) ใช้ผลิตสารอินซูลินซึง่ เป็นสารที่มีความสำคัญในการควบคุมปริมาณน้ำตาลในเลือด
        
2. แบคที่เรีย E.coli ใช้ในการผลิตฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโตในคน
        
3. ยีสต์ Saccharomyces cerevisiae (S. cerevisiae) ใช้ผลิตวัคซีนสำหรับป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบ                
                4.  ด้านอุตสาหกรรม : จุลินทรีย์มักนำมาใช้ส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับอุตสาหกรรมอาหาร เช่น ยีสต์ (Yeast)  Saccharomyces cerevisiae เป็นจุลินทรีย์ที่ใช้ในการผลิตเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ ที่รู้จักกันดีคือ เบียร์ เหล้า และไวน์  เชื้อราAspergillus oryzaeใช้ผลิตอาหารและอาหารเสริม เช่น ซีอิ้ว เต้าเจี้ยว น้ำปลา น้ำส้มสายชู ปลาร้า  แบคทีเรีย (Bacteria) ในจีนัสแลคโตเบซิลัส (Lactobacillus)ใช้ในการผลิตนมเปรี้ยว(cultured milk) ทุกชนิดได้  เชื้อรา Aspergillus niger ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร เป็นเครื่องปรุงรสอาหาร ในอุตสาหกรรมน้ำหมึก สีย้อม และใช้ในวงการแพทย์  เชื้อราAspergillus oryzae ใช้ในการทำให้ไวน์ เบียร์ และน้ำผลไม้ใสขึ้น   ยีสต์Saccharomyces cerevisiae ช้ในอุตสาหกรรมทำลูกกวาด ไอศกรีม



                                                           ตัวอย่างผลิตภัณฑ์  เบียร์

                                                                 
                                                                            ตัวอย่างผลิตภัณฑ์  โยเกิร์ต


จุลินทรีย์

จุลินทรีย์ หรือ จุลชีวัน หรือ จุลชีพ (อังกฤษMicroorganism) เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าจึงจำเป็นต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ ได้แก่ แบคทีเรีย อาร์เคีย รา และ ยีสต์ เป็นต้น เราสามารถพบจุลินทรีย์ได้ทุกสภาวะแวดล้อม แม้แต่ในสภาวะแวดล้อมที่สิ่งมีชีวิตอื่นอยู่ไม่ได้ แต่จุลินทรีย์บางชนิดสามารถปรับตัวอาศัยอยู่ได้ เช่น ในน้ำพุร้อนบริเวณภูเขาไฟใต้ทะเลลึก หรือภูเขาไฟธรรมดา ใต้มหาสมุทรที่มีความกดดันของน้ำสูงๆ ในน้ำแข็งที่มีอุณหภูมิเย็นจัด บริเวณที่มีสภาพความเป็นกรดด่างสูง หรือแม้กระทั่งในบริเวณที่ไม่มีออกซิเจนส่วนใหญ่หมายถึงสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว หรือหลายๆเซลล์ โดยแต่ละเซลล์เป็นอิสระจากกัน

ประเภทของจุลินทรีย์
จุลินทรีย์เมื่อแบ่ง ออกเป็นกลุ่มตามขนาด รูปร่าง และคุณสมบัติอื่นๆ ได้ดังนี้
1. เชื้อไวรัส

เป็นจุลินทรีย์ที่ขนาดเล็กที่สุดต้องใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนที่มีกำลังขยายเป็นหมื่นเท่าจึงจะมองเห็นได้ เรายังไม่สามารถเพาะเลี้ยงเชื้อไวรัสได้ในอาหารเพาะเลี้ยง เชื้อไวรัสเจริญเพิ่มจำนวนได้เมื่ออยู่ในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตเท่านั้น ตัวอย่างโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส ได้แก่ ไข้ทรพิษ พิษสุนัขบ้า ไขสันหลังอักเสบหรือโปลิโอ หัด คางทูม และอีสุกอีใส เป็นต้น
2. เชื้อแบคคีเรีย (bacteria)


มีขนาดใหญ่กว่าเชื้อไวรัส สามารถมองเห็นได้เมื่อส่องขยายด้วยกล้องจุลทรรศน์ธรรมดา ส่วนมากทำหน้าที่เป็นผู้ย่อยลสลายในธรรมชาติ แต่อาจมีบางชนิดที่สามารถสังเคราะห์แสงได้
3. เชื้อรา (fungus)


มีขนาดใหญ่กว่าเชื้อบัคเตรี พบว่ามีรูปร่าง 2 แบบ คือ ราแบบรูปกลม เรียกว่า ยีสต์ และราแบบเป็นสาย เรียกว่า สายรา ราบางชนิดจะมีรูปร่างได้ทั้ง 2 แบบ ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมในธรรมชาติ เราอาจมองเห็นกลุ่มของเชื้อราได้ด้วยตาเปล่า ราบางชนิดจะสร้างสปอร์สำหรับสืบพันธุ์เกิดเป็นเห็ดขึ้น
4. สาหร่ายเซลล์เดียว (blue green algae)


เป็นจุลินทรีย์ที่สามารถสังเคราะห์แสงเองได้ เพราะมีรงค์วัตถุเพื่อการสังเคราะห์แสงอยู่ในเซลล์ จัดเป็นผู้ผลิตเริ่มต้นของห่วงโซ่อาหาร