นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบว่า แบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในดินสายพันธุ์ หนึ่งมีความสามารถในการสื่อสารระหว่างกันในรูปแบบที่ ฉลาดแตกต่างจากปกติ
นักจุลชีวิทยาได้ศึกษาพฤติกรรมและความฉลาดของแบคทีเรีย ระหว่างแบคทีเรีย Paenibacillus vortex (P. vortex) กับแบคทีเรีย สายพันธุ์อื่นๆ มากกว่า 500 สายพันธุ์ ทั้งนี้ นักจุลชีวิทยาได้ทำ การตรวจสอบสิ่งที่เรียกว่า “Social IQ Score” ซึ่งเป็นการตรวจสอบ โดยการนับจำนวนจีโนม (Genome) หรือยีน (Gene) ที่มีส่วน เกี่ยวข้องกับการสื่อสารระหว่างกัน เช่น ยีนที่ทำหน้าที่ในควบคุม การส่งสัญญาณในการติดต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างแบคทีเรียด้วยกัน รวมไปถึงสิ่งแวดล้อม และมีการสังเคราะห์สารเคมีที่ใช้ใน การแข่งขันกับสิ่งมีชีวิตหรือแบคทีเรียชนิดอื่นๆ แบคทีเรีย P. vortex และแบคทีเรียอีก 2 สายพันธุ์ ก็มีจำนวนยีนดังกล่าวมากกว่าแบคทีเรียสายพันธุ์อื่นอีก 499 สายพันธุ์รวมถึงสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดโรค (Pathogen) เช่น Escherichia coli หรือ E. coli เป็นต้น จากการวิจัยดังกล่าว ทำให้ทราบถึงศักยภาพของความฉลาดของแบคทีเรียว่ามีการติดต่อสื่อสารเช่นเดียวกันกับสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆ เช่นกัน
ในด้านความซับซ้อนทางสังคม (Social Sophistication) หรือกลไกในในติดต่อสื่อสารของแบคทีเรีย P. vortex สามารถอธิบายได้จากการศึกษารูปแบบการสร้างโคโลนี (Colony) ของจุลินทรีย์ (สิ่งมีชีวิตจุลินทรีย์ ได้แก่ แบคทีเรีย (bacteria) รา(mold) และยีสต์ (yeast)) ที่ถูกตรึงอยู่กับที่บนอาหารเลี้ยงเชื้อ (nutrient agar) ในจานเพาะเชื้อ (Petri Dish) จะมีการเจริญเติบโตและ แบ่งตัวจากเซลล์เดียว เป็นหลายๆ เซลล์ จนมีขนาดใหญ่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เมื่อนักจุลชีวิทยาได้ศึกษาผลการทดลองจากอัตรา การเจริญเติบโตของกลุ่มโคโลนีของแบคทีเรียดังกล่าว พบว่า มีอัตราการเจริญเติบโตมากกว่าแบคทีเรียชนิดอื่นๆ หลายเท่า ซึ่งโคโลนี ของแบคทีเรีย P. vortex มีความยาวของเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 8 เซนติเมตร ซึ่งมีจำนวนของเซลล์แบคทีเรียมากกว่าจำนวน ประชากรบนโลกถึง 100 เท่า จุดสีฟ้าที่เห็นในภาพประกอบ คือ กลุ่มของแบคทีเรียที่รวมตัวกันอย่างหนาแน่น (เอกพจน์: Vortex พหุพจน์: Vortices) เพื่อใช้ในการเคลื่อนที่ไปยังบริเวณรอบๆ และเพื่อป้องกันตัวเองจากอันตรายรอบด้าน ทั้งนี้ เมื่อเซลล์แบคทีเรียมีการจำลองตัวเอง แต่ละ Vortex จะมีการขยายขนาดและเคลื่อนตัวไปเป็นกลุ่มก้อน และปล่อยเซลล์ที่แก่กว่าหรือไม่มีสามารถจำลองตัวเองไว้เป็นสายหรือเป็นกิ่ง ก้านสาขา เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างโคโลนีด้วยกัน
ดังนั้นการเชื่อมต่อดังกล่าว จึงเป็นการติดต่อสื่อสารระหว่างเซลล์สิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ทำให้สามารถรับรู้ถึงสภาพแวดล้อม การแก้ไขปัญหา และการตัดสินใจ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวนั้นมีความฉลาดกว่าที่ทุกคนคิด
ดังนั้นการเชื่อมต่อดังกล่าว จึงเป็นการติดต่อสื่อสารระหว่างเซลล์สิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ทำให้สามารถรับรู้ถึงสภาพแวดล้อม การแก้ไขปัญหา และการตัดสินใจ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวนั้นมีความฉลาดกว่าที่ทุกคนคิด
ที่มาและภาพประกอบ: Scientific American, June 2011
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น