ค้นหาบล็อกนี้

วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555

จุลินทรีย์ประจำถิ่น

         ร่างกายมนุษย์เรานั้นปกคลุมด้วยจุลินทรีย์ เซลล์ในร่างกายเราว่ามีจำนวนมากแล้ว แต่เชื่อหรือไม่ว่า จุลินทรีย์ที่มีอยู่ใน ตัวเรานี้มีมากกว่าจำนวนเซลล์เป็นสิบเท่า ร่างกายคนเราคือโลกใบใหญ่ของจุลินทรีย์โดยแท้ โลกใบใหญ่ในตัวเรานี้มีทั้งประชากรแบคทีเรีย รา ยีสต์ และโปรโตซัว สิ่งมีชีวิตที่เล็กจนมองด้วยตาเปล่าไม่เห็นเหล่านี้ครอบครองพื้นที่เกือบทุก อณูในร่างกายทั้งภายนอกและภายใน...

จุลินทรีย์ที่ผิวหนัง

          สำหรับแบคทีเรียตัวหลักที่ครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของผิวหนังก็คือ สแตฟิโลคอกคัส อีพิเดอร์มิดิส (Staphy-  lococcus epidermidis) เป็นแบคทีเรียแกรมบวกที่ปรับตัวได้เก่ง อาศัยอยู่ในร่างกายได้หลายที่ ถ้า S. epidermidis ระบาดในโรงพยาบาลก็อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต S. epidermidis จะก่อตัวเป็นรูปแบบไบโอฟิล์ม (biofilm) ติดกับพื้นผิวของเครื่องมือแพทย์ โดยไบโอฟิล์มนี้มีฤทธิ์ต้านทานยาปฏิชีวนะ อันที่จริงแล้ว S. epidermidis นั้นไม่ใช่จุลินทรีย์ก่อโรค แต่ในบางกรณีมันอาจกลายเป็น “เชื้อฉวยโอกาส” (opportunistic organism) ที่ทำให้เกิดโรคได้

จุลินทรีย์ที่ดวงตา
           เมื่อนำเยื่อตามาเพาะเชื้อก็พบกับแบคทีเรียหลายชนิดในปริมาณไม่มากนัก ได้แก่ S. epidermidis, P. acnes, นอกจากนี้ยังมีโอกาสพบ สแตฟิโลคอกคัสออเรียส (Staphy- lococcus aureus), เฮโมฟิลัส (Haemo- philus sp)., และ ไนส์ซีเรีย (Neisseria sp.) เยื่อตานั้นคงความชุ่มชื้นและสุขภาพดีอยู่เสมอโดยมีของเหลวจากต่อมน้ำตา หลั่งออกมาหล่อลื่นและฆ่าเชื้อ จึงไม่ค่อยพบจุลินทรีย์ที่บริเวณเยื่อตามากนัก

จุลินทรีย์ที่จมูก
        จมูกคนเราเป็นแหล่งอาศัยของแบคทีเรีย S. aureus (อีกบริเวณที่มี S. aureus อยู่มากก็คือ  บริเวณรอบทวารหนักและอวัยวะสืบพันธุ์) ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่ขึ้นชื่อลือชาในโรงพยาบาลด้านการติดเชื้อจากแผลผ่าตัด และการติดเชื้อจากระบบโรงพยาบาล นอกจากนี้ยังมี S. aureusสายพันธุ์พิเศษที่ชื่อ MRSA (Methicillin Resistance Staphylococcus aureus) ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะเมทิซิลลิน และแวนโคมัยซิน ปัจจุบันการพบเชื้อ MRSA เป็นปัญหาสำคัญในโรงพยาบาลที่เป็นอันตรายถึงชีวิต โดยแบคทีเรียจะติดต่อจากคนไข้คนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่งแต่ก็มีบางคนที่แม้จะ ได้รับเชื้อก็จะไม่แสดงอาการ   ส่วนแบคทีเรียตัวเด่นอีกสองชนิดที่อาศัยเกาะติดกับเนื้อเยื่อบริเวณจมูกและหลังโพรงจมูกคือ S. epidermidis และ สแตฟิโลคอกคัส นิวโมนิอี (Staphylococcus pneumoniae)

จุลินทรีย์ที่ปาก

         ในปากของเราเป็นแหล่งมีแบคทีเรียประมาณ 500-600 ชนิด ยกตัวอย่างเช่น กลุ่มสเตรปโตคอกคัส (streptococci), กลุ่มแลกโตบาซิลลัส (lacto- bacilli), กลุ่มสแตฟิโลคอกคัส (Staphylocci), กลุ่มโครินีแบคทีเรีย (corynebacteria) และแบคทีเรียชนิดไม่ใช้ออกซิเจนชนิดของจุลินทรีย์ในช่องปากของเราเปลี่ยน แปลงไปตามวัย ในช่วงแรกเกิด ในปากมีเพียงริมฝีปาก กระพุ้งแก้ม ลิ้น เพดาน ซึ่งมีต่อมน้ำลายหลั่งน้ำลายออกมาให้ความชุ่มชื้น จุลินทรีย์ตัวเด่นในช่วงวัยแรกของชีวิตคือ สเตรปโตคอกคัส ซาลิวาเรียส (Streptococcus salivarius) แต่หลังจากที่ฟันเริ่มขึ้นในช่วงปีแรก ก็จะมี สเตรปโตคอกคัส มิวแทนส์ (Strep- tococcus mutans) และ สเตรปโตคอกคัส แซนกุยส์ (Strep- tococcus sanguis) เพิ่มเข้ามา 

จุลินทรีย์ที่จุดซ่อนเร้น
           หลังจากคลอดออกมาจากท้องแม่ไม่นาน บริเวณช่องคลอดก็จะมีจุลินทรีย์ประเภท โครินีแบคทีเรีย, สแตฟิโลคอกคัส, สเตรปโตคอกคัส, อี. โคไล และแบคทีเรียกรดแลกติก มาอาศัย ในช่วงวัยเจริญพันธุ์จนถึงวัยหมดประจำเดือน เยื่อบุผิวช่องคลอดจะมีไกลโคเจนอันเนื่องมาจากการที่ร่างกายมีฮอร์โมน เอสโตรเจน แบคทีเรียกรดแลกติกที่ชื่อ แลกโตบาซิลลัส แอซิโดฟิลัส (Lactobacillus acidophilus) ก็จะย่อยสลายไกลโคเจนให้กลายเป็นกรดแลกติก และสารอื่นๆ ซึ่งมีผลในการยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ชนิดอื่นๆ ยกเว้นพวกเดียวกันเอง ทำให้ค่าความเป็นกรดด่างของเยื่อบุช่องคลอดลดต่ำลงจน   ยีสต์ ซึ่งเป็นคู่แข่งกันเจริญไม่ได้ รวมถึงยีสต์ก่อโรคอย่างเช่น แคนดิดา อัลบิแคนส์ (Candida albicans) ด้วย นี่เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดว่า แบคทีเรียประจำถิ่นผู้อาศัยนั้นทำประโยชน์ให้แก่เจ้าบ้าน


โดย  นิตยสาร update โดย นิสากร ปานประสงค์  http://update.se-ed.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น