น้ำเสียบำบัดด้วยจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ปลอดภัย ลดมลภาวะสิ่งแวดล้อม
น้ำเน่าเสียเกิดขึ้นได้ทั้งจากธรรมชาติเอง เช่นการเกิดภัยน้ำท่วมเป็นเวลานานๆ จะทำให้อินทรีย์วัตถุซากพืชซากสัตว์เกิดการเน่าเสียขึ้น และน้ำเสียที่เกิดจากฝีมือของมนุษย์เองซึ่งเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา น้ำหล่อเลี้ยงชีวิตของมนุษย์ในขณะเดียวกันมนุษย์ก็เป็นต้นเหตุทำลายน้ำในตัว หน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับน้ำบ้านเรายังมีน้อย ไม่เพียงพอกับส่วนที่ทำลายหรือสร้างปัญหา น้ำเสียคือปรากฎการณ์ที่ภาวะออกซิเจนในน้ำลดลง ค่าบีโอดีและซีโอดีเปลี่ยนแปลงไปจากค่ามาตรฐานที่ควรจะเป็น ในบ้านเรายังมีระบบจัดการยังไม่พอเพียงกับปริมาณของเสีย โดยเฉพาะน้ำเสียที่ทิ้งจากบ้านแต่ละหลังออกไปสู่สาธารณะ น้ำที่เน่าเสียส่วนมากเกิดจากการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของจุลินทรีย์บางกลุ่ม ซึ่งส่วนมากจะเป็นกลุ่มให้โทษปฏิกิริยาจากการย่อยสลายที่ไม่สมบูรณ์จึงก่อให้เกิดของเสียและกลิ่นเน่าเหม็นตามมา
การบำบัดน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย
การบำบัดน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย
จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ให้ประโยชน์กับสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ คุณสมบัติเด่นของจุลินทรีย์กลุ่มนี้ก็คือการย่อยสลายที่สมบูรณ์แบบนั่นเอง ดังนั้นการนำไปบำบัดน้ำเสียก็คือการนำจุลินทรีย์ไปย่อยสลายสิ่งสกปรกที่ตกค้างจากการย่อยสลายที่ไม่สมบูรณ์ของกลุ่นจุลินทรีย์ที่มีโทษนั่นเอง ในการบำบัดน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียหลักการควรคำนึงถึงปัญหาหรือที่มาของปัญหาก่อนว่าปัญหามีมากน้อยเพียงใด ถ้าปัญหามีมากควรใช้จุลินทรีย์เข้มข้นสูง ( ไม่ผสมน้ำ ) เทหรือราดลงไปแหล่งหรือต้นตอของปัญหา ขอย้ำว่าควรแก้ที่ต้นเหตุแห่งปัญหาเท่านั้น ไม่ควรไปแก้ที่ปลายเหตุซึ่งมีผู้ใช้หลายท่านเข้าใจผิดนำจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียไปแก้ปัญหาหรือบำบัดน้ำเสียผิดจุด ซึ่งจะทำให้การบำบัดน้ำเสียครั้งนั้นล้มเหลวได้ ยิ่งปริมาณจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียหนาแน่นมากเท่าใด ก็จะทำให้การบำบัดน้ำเสียทำได้อย่างรวดเร็ว ( เกิดการย่อยสลายได้รวดเร็วขึ้น ) เมื่อกระบวนการย่อยสลายด้วยจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียทำงานได้เต็มที่ก็จะทำให้ปฏิกิริยาย่อยสลายเกิดขึ้นแบบสมบูรณ์ของเสียหรือกลิ่นเน่าเหม็นก็จะถูกขจัดไปในที่สุด
การใช้จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียในโรงงานอุตสาหกรรม
จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียสามารถใช้บำบัดน้ำเสียในโรงงานได้ แต่โรงงานที่ใช้จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียควรมีปริมาณสารเคมีที่น้อยหรือเจือจางมาก น้ำเสียที่เกิดขึ้นไม่ควรเป็นสารเคมีประเภทเป็นกรดหรือเป็นเบสสูงมาก เพราะกรดจากสารเคมีจะไปทำลายเชื้อจุลินทรีย์ทำให้ตายง่าย ซึ่งจะมีผลทำให้การบำบัดน้ำเสียไม่ได้ผล แต่ถ้าเป็นโรงงานที่ผลิตหรือใช้วัตถุดิบเป็นสารอินทรีย์ เช่น โรงงานปลาป่น โรงงานปลากระป๋อง โรงงานน้ำมันพืช เป็นต้น สามารถใช้จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียได้ทันที ซึ่งน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดด้วยจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียแล้วจะเป็นน้ำดีออกสู่สิ่งแวดล้อมอย่างปลอดภัย
ข้อดีของการใช้จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย
1. ต้นทุนต่ำ แต่เป็นการบำบัดน้ำเสียที่มีประสิทธิภาพ แต่ผู้ใช้จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียต้องประยุกต์ใช้เป็นจึง่งแวดล้อมจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
2. การใช้จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียทำได้ง่าย ดูแลรักษาง่าย ไม่มีค่าเมนเทนแน้นส์รายเดือน
3. ประหยัดพลังงาน การใช้จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียไม่ต้องใช้พลังงานไฟฟ้าใดๆทั้งสิ้น
ปัจจัยที่มีผลต่อการบำบัดน้ำเสีย
1 ) การใช้จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ต้องเป็นจุลินทรีย์ที่แข็งแรง ไม่เก่าเก็บจนเกินไป เข้มข้นสูง
2 ) แหล่งหรือจุดที่เป็นต้นตอของปัญหา ซึ่งการใช้จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียจะแตกต่างกันตามสภาพของปัญหา
3 ) ปริมาณการใช้จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียในแต่ละครั้งไม่ควรน้อยหรือเจือจางจนเกินไป ซึ่งจะมีผลต่อการย่อยสลาย
4 ) ความถี่ของการใช้จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ซึ่งขึ้นอยู่กับปัญหา เพราะแต่ละปัญหาไม่เหมือนกัน ดังนั้นผู้ใช้ควรมีความเข้าใจในการใช้ให้เหมาะสมและถูกหลักจึงจะได้ผลดี
1. ต้นทุนต่ำ แต่เป็นการบำบัดน้ำเสียที่มีประสิทธิภาพ แต่ผู้ใช้จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียต้องประยุกต์ใช้เป็นจึง่งแวดล้อมจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
2. การใช้จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียทำได้ง่าย ดูแลรักษาง่าย ไม่มีค่าเมนเทนแน้นส์รายเดือน
3. ประหยัดพลังงาน การใช้จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียไม่ต้องใช้พลังงานไฟฟ้าใดๆทั้งสิ้น
ปัจจัยที่มีผลต่อการบำบัดน้ำเสีย
1 ) การใช้จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ต้องเป็นจุลินทรีย์ที่แข็งแรง ไม่เก่าเก็บจนเกินไป เข้มข้นสูง
2 ) แหล่งหรือจุดที่เป็นต้นตอของปัญหา ซึ่งการใช้จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียจะแตกต่างกันตามสภาพของปัญหา
3 ) ปริมาณการใช้จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียในแต่ละครั้งไม่ควรน้อยหรือเจือจางจนเกินไป ซึ่งจะมีผลต่อการย่อยสลาย
4 ) ความถี่ของการใช้จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ซึ่งขึ้นอยู่กับปัญหา เพราะแต่ละปัญหาไม่เหมือนกัน ดังนั้นผู้ใช้ควรมีความเข้าใจในการใช้ให้เหมาะสมและถูกหลักจึงจะได้ผลดี
โดย Bankokshow.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น